เว็บไซต์สุดรัก ชื่อโดเมนแสนหวงอยู่ดีๆ ก็ถูกขโมย เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้เพิ่งจะเคยเกิดขึ้น หลายๆ คนต้องเจอะเจอกับเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อนแล้ว บ้างก็ต้องเสียค่าไถ่ให้กับมิจฉาชีพพวกนี้ไปเพื่อจะให้ได้ชื่อโดเมนของตัวเองคืนมา บางรายไม่มีเงินเสียค่าไถ่ก็ต้องตัดใจปล่อยให้ชื่อโดเมนนั้นไปอยู่ในมือโจรไป แล้วไปสร้างใหม่ในภายหลัง ซึ่งก็ต้องใช้เวลาและพลังงานอีกมาก กว่าจะมีคอนเทนต์และคนเข้าชมเท่าของเดิม
แต่เมื่อถึงยุคที่อินเตอร์เน็ตบูมเช่นนี้แล้ว ยุทธวิธีการเรียกของตัวเองคืนก็ย่อมเปลี่ยนไป ไม่ต้องดิ้นรนอยู่คนเดียวอีกต่อไป เพราะมีหลายฝ่ายให้ความสำคัญ และร่วมมือรักษาสิทธิ์ รักษาผลประโยชน์ที่เสียไป เพื่อให้เจ้าทุกข์ได้ของตัวเองคืนมา
เพิ่งจะมีเหตุการณ์สดๆ ร้อนๆ ผ่านไปเมื่อเร็วๆ นี้กับเว็บไซต์ Bcoms.net ถูกขโมยชื่อโดเมนแล้วเรียกกลับคืนมาได้ แม้ว่ารายนี้จะไม่ต้องเสียเงินค่าไถ่เพื่อซื้อเว็บฯ ตัวเองคืนจากโจร แต่ก็ต้องสูญเสียลูกค้าเดิมไปบางส่วน และยังถูกเข้าใจผิดว่ากลายเป็นเว็บไซต์ที่ทำเรื่องอนาจารไป รายได้ที่ต้องสูญเสียไปในช่วงที่ชื่อโดเมนถูกขโมยยังไม่เท่ากับชื่อเสียงที่ต้องพังทลายและต้องใช้เวลากู้คืนมาใหม่
แล้วถ้าเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับคุณจะทำอย่างไร?
- ติดต่อกับผู้ให้บริการรับจดทะเบียนชื่อโดเมนหลังจากที่แน่ใจแล้วว่าชื่อโดเมนเว็บไซต์ของคุณถูกขโมยอย่างแน่นอนแล้ว ควรจะรีบแจ้งไปยังผู้ที่รับจดทะเบียนชื่อโดเมนที่คุณไปใช้บริการอยู่ เพื่อแจ้งเรื่องการถูกขโมยชื่อโดเมนให้ทราบ และขอความช่วยเหลือให้ช่วยติดต่อสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ของ ICANN หรือ Internet Corporation for Assigned Names and Numbers ซึ่งก็คือหน่วยงานทางเทคนิคที่ดูแลรับผิดชอบความมีเสถียรภาพของระบบอินเตอร์เน็ตโลก มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการแจกจ่ายชื่อโดเมนและหมายเลข IP Address เพื่อขอชื่อโดเมนคืน รวมทั้งให้ช่วยติดต่อไปยังผู้ให้บริการจดชื่อโดเมน ที่ชื่อโดเมนเว็บไซต์ของคุณถูกโอนย้ายไป
- ค้นหาเอกสารเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของ
- ส่งเอกสารไปยัง ICANN เพื่อขอเอกสารยืนยันความเป็นเจ้าของ
- ส่งเอกสารไปยังผู้ให้บริการจดทะเบียนโดเมนที่มิจฉาชีพโอนย้ายชื่อโดเมนของคุณไป
หลังจากที่แจ้งเรื่องไปแล้วคุณก็ต้องมีหลักฐานยืนยันความเป็นเจ้าของชื่อโดเมนของคุณด้วย เช่น อีเมล์ยืนยันการจดทะเบียนชื่อโดเมนจากผู้ให้บริการรับจดทะเบียนชื่อโดเมน เอกสารการชำระเงินค่าจดทะเบียนชื่อโดเมน และข้อมูลการตรวจสอบชื่อ และสิทธิ์การครอบครองชื่อโดเมนจากระบบค้นหาชื่อโดเมน (Whois) ที่มีให้บริการบนเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ทราบว่าชื่อโดเมนนี้ใครเป็นเจ้าของ เช่นที่ Internic.com, Thnic.co.th, Checkdomain.com เป็นต้น
นอกจากนี้ก็ควรจะมีเอกสารของการถูกขโมยโดเมนที่พอจะรวบรวมได้เตรียมเอาไว้ด้วย เช่น อีเมล์แจ้งการโอนย้ายชื่อโดเมนไปยังผู้ให้บริการรายอื่น ข้อมูลการติดต่อกับมิจฉาชีพที่อาจจะติดต่อมาเพื่อขอเรียกค่าไถ่ชื่อโดเมน เป็นต้น
ขอหนังสือรับรองจากเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือชมรมผู้ประกอบการธุรกิจโฮสติง
หลังจากเตรียมเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของเรียบร้อยแล้วก็ต้องไปขอหนังสือรับรองจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือชมรมผู้ประกอบการธุรกิจโฮสติง เพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของชื่อโดเมนของตัวเองอีกครั้ง โดยปัจจุบันมีกฎหมายคุ้มครองในกรณีที่เกิดปัญหาการขโมยโดเมน หรือมีการทำให้เว็บไซต์เสียหายโดยที่เจ้าของชื่อโดเมนนั้นไม่ยินยอม ซึ่งจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หลังจากเตรียมเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของเรียบร้อยแล้วก็ต้องไปขอหนังสือรับรองจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือชมรมผู้ประกอบการธุรกิจโฮสติง เพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของชื่อโดเมนของตัวเองอีกครั้ง โดยปัจจุบันมีกฎหมายคุ้มครองในกรณีที่เกิดปัญหาการขโมยโดเมน หรือมีการทำให้เว็บไซต์เสียหายโดยที่เจ้าของชื่อโดเมนนั้นไม่ยินยอม ซึ่งจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หลังจากเตรียมเอกสารทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการส่งเอกสารไปยัง ICANN ซึ่งขั้นตอนนี้คงต้องร่วมมือกับผู้ให้บริการรับจดทะเบียนชื่อโดเมน ในการส่งเอกสารต่างๆ ต่อไปให้ยัง ICANN รวมทั้งยังต้องรอการตรวจสอบเอกสาร และรอคำยืนยันความเป็นเจ้าของจาก ICANN อีกครั้ง
ถึงเวลาทวงคืนชื่อโดเมนสักที หลังจากที่ต้องยุ่งยากกับการดำเนินการเรื่องเอกสารอยู่นาน สำหรับขั้นตอนนี้อาจจะยุ่งยากและใช้เวลาอยู่สักหน่อย เพราะเหตุการณ์ถูกขโมยโดเมนเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง และทุกๆ วันก็จะมีการแจ้งเรื่องการถูกขโมยชื่อโดเมนไป ซึ่งมีทั้งที่เป็นเรื่องจริงและเรื่องหลอก ดังนั้นหากคุณไม่มีหลักฐานยืนยันความเป็นเจ้าของที่ชัดเจน ไม่มีการตามเรื่อง ไม่มีการชี้แจงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่ที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นตั้งแต่แรก โอกาสที่คุณจะทวงคืนชื่อโดเมนของคุณกลับคืนมานั้นอาจจะไม่สำเร็จ
เมื่อเจอปัญหาการขโมยโดเมนเช่นนี้แล้ว บางรายอาจจะตัดปัญหาด้วยการทิ้งโดเมนนั้นไป ไม่มีการแจ้งความ เพราะกลัวความยุ่งยากเรื่องเอกสารและการดำเนินการต่างๆ โดยเฉพาะการใช้บริการจดทะเบียนโดเมนกับบริษัทในต่างประเทศก็ยิ่งยุ่งยากในเรื่องของภาษาที่อาจจะสื่อสารกันไม่ค่อยเข้าใจ ดังนั้นการเลือกใช้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนกับบริษัทในประเทศไทยน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า อย่างน้อยก็ตัดปัญหาเรื่องการสื่อสารออกไปได้ รวมทั้งหากเกิดปัญหาก็ยังตามตัวกันได้ ขอความช่วยเหลือกันได้อีกด้วย อ่านต่อ